ปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสของเกลือ
ไฮโดรไลซีสของเกลือ หมายถึง ปฏิกิริยาระหว่างเกลือกับน้ำ เกลือเป็นอิเล็กโทรไลต์แก่ เมื่อเกลือละลายในน้ำ เกลือจะแตกตัวออกเป็นไอออนบวกและไอออนลบทั้งหมด ดังนั้น สมบัติของสารละลายของเกลือ จึงขึ้นอยู่กับไอออนบวกและไอออนลบในสารละลายนั้น ไอออนบางตัวสามารถที่จะทำปฏิกิริยากับน้ำและให้ H+ หรือ OH- ได้ ปฏิกิริยานี้จึงเรียกว่า ปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส เช่น
- ไอออนลบ เช่น X- เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ จะเขียนสมการได้ดังนี้
X- (aq) + H2O (l)
HX (aq) + OH- (aq)
จะเห็นว่าจากปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสของไอออนลบ X- ที่เกิดขึ้น X- (aq) จะรับ H+ จากน้ำแล้วได้ OH- (aq) ดังนั้นสารละลายที่ได้จึงมีสมบัติเป็นเบส
NH4+ (aq) + H2O(l)
NH3 (g) + H3O+ (aq)
- สำหรับไอออนบวก เช่น NH4+(aq) เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ จะเขียนสมการได้ดังนี้
NH4+ (aq) + H2O(l)
จะเห็นว่าจากปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสของไอออนบวก NH4+(aq) ที่เกิดขึ้น NH4+ จะให้โปรตอนกับ H2O (l) แล้วได้ H3O+ (aq) ดังนั้นสารละลายที่ได้จึงมีสมบัติเป็นกรด
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า “ถ้าไอออนลบของเกลือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นเบส และถ้าไอออนบวกของเกลือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส จะทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นกรด”
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า “ถ้าไอออนลบของเกลือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสจะทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นเบส และถ้าไอออนบวกของเกลือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส จะทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นกรด”
- การพิจารณาว่าไอออนลบใดจะเกิดไฮโดรไลซีสหรือไม่นั้นมีหลักพิจารณาดังนี้
1. ถ้าเป็นไอออนลบของกรดแก่ เช่น Cl-, Br- , I- , NO3- , และ ClO4- จะไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ดังนั้น จะไม่มีผลต่อค่าความเป็นกรด-เบสของสารละลาย2. ไอออนลบของกรดอ่อน เช่น CH3COO- , ClO- , CN- , และ CO32- สามารถรับโปรตอนจากน้ำเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้สารละลายที่เป็นเบส เช่น ปฏิกิริยาของ CH3COO- กับน้ำ
CH3COO- (aq) + H2O (l)
CH3COOH (aq) + OH- (aq)
- การพิจารณาว่าไอออนบวกใดจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสหรือไม่มีหลักพิจารณาดังนี้
1. ไอออนบวกของโลหะหมู่ IA หรือ IIA (ยกเว้น Be) ได้แก่ Li+ , Na+ , K+ , Mg2+ , Ca2+ และ Ba2+ จะไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส รวมทั้งไอออนบวกของเบสแก่ทั้งหมด
2. แอมโมเนียมไอออนของเกลือแอมโมเนียมจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส และทำให้สารละลายเป็นกรด1. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดแก่และเบสแก่
เกลือประเภทนี้เมื่อละลายในน้ำจะไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำ ทั้งนี้เพราะ ทั้งไอออนบวกที่มาจากเบสแก่ และไอออนลบที่มจากกรดแก่ ต่างก็ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ เช่น NaCl เมื่อละลายน้ำได้ Na+ และ Cl- ทั้ง Na+ ซึ่งมาจากเบสแก่ และ Cl- ซึ่งมาจากกรดแก่ HCl จะไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ไม่มีผลต่อค่า pH ของสารละลาย สารละลายจึงเป็นกลาง คือมี [H3O+] และ [OH-] ที่แตกตัวจากน้ำมีปริมาณเท่ากัน pH ของสารละลายเท่ากับ 7
2. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนกับเบสแก่
เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะได้ไอออนลบที่มาจากกรดอ่อนที่มีสมบัติเป็นคู่เบสที่แรงพอสมควร ไอออนลบที่เกิดขึ้นจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำได้ OH- ไอออนทำให้สารละลายแสดงสมบัติความเป็นเบส
ตัวอย่างเช่น NaClO เมื่อละลายน้ำจะให้ Na+ และ ClO- ดังนี้
ตัวอย่างเช่น NaClO เมื่อละลายน้ำจะให้ Na+ และ ClO- ดังนี้
NaClO (s)
Na+ (aq) + ClO- (aq)
ClO- จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส โดยรับโปรตอนจากน้ำได้เป็น HClO และ OH- ตามสมการ
ClO- จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส โดยรับโปรตอนจากน้ำได้เป็น HClO และ OH- ตามสมการ
ClO- (aq) + H2O (l)
HClO (aq) + OH- (aq)
สำหรับ Na+ (aq) ไอออน ซึ่งมาจากเบสแก่ NaOH ไม่เกิดการไฮโดรไลซีส
ดังนั้นสารละลายที่เกิดจากการละลายของเกลือ NaClO ในน้ำแล้วเกิดการไฮโดรไลซีสของ ClO- (aq) จะได้ OH- ไอออน จึงแสดงสมบัติเป็นเบส pH ของสารละลายมีค่ามากกว่า 7
ดังนั้นสารละลายที่เกิดจากการละลายของเกลือ NaClO ในน้ำแล้วเกิดการไฮโดรไลซีสของ ClO- (aq) จะได้ OH- ไอออน จึงแสดงสมบัติเป็นเบส pH ของสารละลายมีค่ามากกว่า 7
3. การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดแก่กับเบสอ่อน
เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำจะให้ไอออนบวกที่มาจากเบสที่เป็นคู่กรด ที่มีความแรงพอสมควร ไอออนบวกนี้จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสกับน้ำให้ H3O+ ทำให้สารละลายแสดงสมบัติเป็นกรด
ส่วนไอออนลบซึ่งมาจากกรดแก่ ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส ตัวอย่างเช่น
NH4Cl ซึ่งเกิดจากกรดแก่ HCl กับเบสอ่อน NH3
NH4Cl แตกตัวในน้ำได้ NH4+ และ Cl- ทั้งหมด
ส่วนไอออนลบซึ่งมาจากกรดแก่ ไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีส ตัวอย่างเช่น
NH4Cl ซึ่งเกิดจากกรดแก่ HCl กับเบสอ่อน NH3
NH4Cl แตกตัวในน้ำได้ NH4+ และ Cl- ทั้งหมด
NH4Cl (aq)
NH4+ (aq) + Cl- (aq)
Cl- ไม่เกิดการไฮโดรไลซีส แต่ NH4+ เกิดไฮโดรไลซีส โดย NH4+ จะให้โปรตอนกับ H2O ได้เป็น NH3(aq) และ H3O (aq) ดังสมการ
NH4+ (aq) + H2O (l)
NH3 (aq) + H3O+ (aq)
จะเห็นได้ว่าผลจากการไฮโดรไลซีสของ NH4Cl จะได้ H3O+ ดังนั้นสารละลายของเกลือ NH4Cl จึงแสดงสมบัติเป็นกรด pH ของสารละลายมีค่าน้อยกว่า 7
จะเห็นได้ว่าผลจากการไฮโดรไลซีสของ NH4Cl จะได้ H3O+ ดังนั้นสารละลายของเกลือ NH4Cl จึงแสดงสมบัติเป็นกรด pH ของสารละลายมีค่าน้อยกว่า 7
4.การไฮโดรไลซีสของเกลือที่เกิดจากกรดอ่อนและเบสอ่อน
เกลือประเภทนี้เมื่อละลายน้ำได้ไอออนบวกและไอออนลบ ซึ่งไอออนทั้งสองนี้ สามารถเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้ทั้งคู่ ไอออนบวกของเกลือจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสได้ H3O+ ส่วนไอออนลบได้ OH- ดังนั้นความเป็นกรด-เบสของสารละลายจึงขึ้นอยู่กับว่าไอออนบวกหรือไอออนลบเกิดปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสได้ดีกว่ากัน โดยพิจารณาจากค่าคงที่ของการแตกตัวของคู่เบส (Kb) (ไอออนลบ) หรือค่าคงที่การแตกตัวของคู่กรด Ka (ไอออนบวก)
ตัวอย่างเช่น เกลือ NH4CN ที่เกิดจากกรดอ่อน HCN และเบสอ่อน NH4OH
NH4OH แตกตัวในน้ำให้ NH4+ และ CN- ดังสมการ
ตัวอย่างเช่น เกลือ NH4CN ที่เกิดจากกรดอ่อน HCN และเบสอ่อน NH4OH
NH4OH แตกตัวในน้ำให้ NH4+ และ CN- ดังสมการ
NH4CN (aq)
NH4+(aq) + CN-(aq)
NH4+ และ CN- เกิดปฏิกิริยาการไฮโดรไลซีสดังนี้
NH4+ (aq) + H2O (l)
NH3 (aq) + H3O+(aq) ; Ka = 5.6 x 10-10
CN- (aq) + H2O (l)
HCN (aq) + OH- (aq) ; Kb = 5.6 x 10-5
CN- (aq) + H2O (l)
เนื่องจาก ค่า Kb> Ka ดังนั้นแสดงว่า CN- เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซีสให้ OH- ได้ดีกว่า NH4+ ดังนั้น [OH-] > [NH3] สารละลายของเกลือ NH4CN จึงแสดงสมบัติเป็นเบส pH มีค่ามากกว่า 7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น