การแตกตัวของกรดแก่และเบสแก่
การแตกตัวของกรดแก่และเบสแก่ จะแตกตัวได้หมด 100% หมายถึง การแตกตัวของกรดแก่และเบสแก่ เป็นไอออนได้หมดในตัวทำละลายซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำ เช่น การแตกตัวของกรด HCl จะได้ H+ หรือ H3O+ และ Cl-ไม่มี HCl เหลืออยู่ หรือการแตกตัวของเบส เช่น NaOH ได้ Na+ และ OH- ไม่มี NaOH เหลืออยู่
การแตกตัวของกรดแก่และเบสแก่เขียนแทนด้วยลูกศร ซึ่งแสดงการเปลี่ี่ยนแปลงไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว เช่น

การแตกตัวของกรดอ่อน
สารละลายกรดอ่อน เช่น กรดแอซิติก (CH3COOH) เมื่อละลายน้ำ จะนำไฟฟ้าได้ไม่ดี ทั้งนี้ เพราะกรดแอซิติกแตกตัวเป็นไอออนได้เพียงบางส่วน เขียนแทนโดยสมการจะใช้ลูกศร
เพื่อชี้ว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นทั้งปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับ และอยู่ในภาวะสมดุลกัน เช่น

CH3COOH (aq) + H2O (l)
H3O+ (aq) + CH3COO- (aq)

ปริมาณการแตกตัวของกรดอ่อน นิยมบอกเป็นร้อยละ เช่น กรด HA แตกตัวได้ร้อยละ 10 ในน้ำ หมายความว่า กรด HA 1 โมล เมื่อละลายน้ำ จะแตกตัวให้ H+
เพียง 0.10 โมล
เพียง 0.10 โมล

กรดมอนอโปรติก คือ กรดที่ี่แตกตัวให้ H+ ได้เพียง 1 ตัว เช่น HCOOH และ CH3COOH
HCOOH (aq)
H+(aq) + HCOO-(aq)

CH3COOH (aq)
H+ (aq) + CH3COO- (aq)

กรดพอลิโปรติก หมายถึง กรดที่ี่มีโปรตอนมากกว่า 1 ตัว และสามารถแตกตัวให้ H+ ได้มากกว่า 1 ตัว ถ้าแตกตัวได้ H+
2 ตัว เรียกว่า กรดไดโปรติก เช่น H2CO3 , H2S , H2C2O4 เป็นต้น
2 ตัว เรียกว่า กรดไดโปรติก เช่น H2CO3 , H2S , H2C2O4 เป็นต้น
ค่าคงที่สมดุลของกรดอ่อน (Ka)
กรดอ่อนแตกตัวได้เพียงบางส่วน ปฏิกิริยาการแตกตัวไปข้างหน้า และปฏิกิริยาย้อนกลับเกิดขึ้นได้พร้อมกัน และปฏิกิริยาการแตกตัวของกรดอ่อนนี้ี้จะอยู่ในภาวะสมดุล ค่าคงที่สมดุลนี้ี้จะหาได้ดังนี้

Kaยิ่งมากยิ่งมีความแรงมากขึ้น
สำหรับกรดที่ี่แตกตัวได้ 100% จะไม่มีค่า Ka
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น